วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

apollo

โครงการอะพอลโล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"อะพอลโล" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับเทพเจ้ากรีก ดูที่ อพอลโล
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อพอลโล (แก้ความกำกวม)
ตราโครงการอะพอลโล
โครงการอะพอลโล เป็นโครงการต่อเนื่องเมอร์คิวรี่ และ เจมินี่ มีเป้าหมายสำคัญคือ จะนำมนุษย์ลงไปสำรวจดวงจันทร์ ใช้มนุษย์อวกาศขึ้นไปครั้งละ 3 คน ตัวยานอวกาศประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
  1. ยานบังคับการ
  2. ยานบริการ
  3. ยานลงดวงจันทร์
โครงการอะพอลโล เริ่มส่งมนุษย์ขึ้นโคจรในอะพอลโล โดยขึ้นไปโคจรรอบโลก 163 รอบ ในปี พ.ศ. 2511 โดยมนุษย์อวกาศชุดแรกลงไปเหยียบดวงจันทร์คือนักบินของยานอะพอลโล 11 จำนวน3 คน คือ นีล อาร์มสตรอง เอ็ดวิน อี-แอลดริน และไมเคิล คอลลินส์

รายละเอียดโครงการ

  1. อะพอลโล 1 (27 มกราคม ค.ศ. 1967) เกิดอุบัติเหตุนักบินเสียชีวิต 3 คน
  2. อะพอลโล 4 ทดสอบโครจรรอบโลก
  3. อะพอลโล 5 ทดสอบโครจรรอบโลก
  4. อะพอลโล 6 ทดสอบโครจรรอบโลก
  5. อะพอลโล 7 ทดสอบโครจรรอบโลกโดยมีนักบิน
  6. อะพอลโล 8 (21 ธันวาคม ค.ศ. 1968) ทดสอบโคจรรอบดวงจันทร์
  7. อะพอลโล 10 (18 พฤษภาคม ค.ศ. 1969) ทดสอบโคจรรอบดวงจันทร์
  8. อะพอลโล 11 (16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969) ลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรก
  9. อะพอลโล 12 (14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) ลงจอดบนดวงจันทร์
  10. อะพอลโล 13 (11 เมษายน ค.ศ. 1970) เกิดอุบัติเหตุไม่ได้ลงจอด
  11. อะพอลโล 14 ลงจอดบนดวงจันทร์
  12. อะพอลโล 15 ลงจอดบนดวงจันทร์
  13. อะพอลโล 16 ลงจอดบนดวงจันทร์
  14. อะพอลโล 17 ลงจอดบนดวงจันทร์ ครั้งสุดท้าย
  15. อะพอลโล 18 ยกเลิกภารกิจ
  16. อะพอลโล 19 ยกเลิกภารกิจ
  17. อะพอลโล 20 ยกเลิกภารกิจ

Yuri Alekseyevich Gagarin

ยูริ กาการิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน
Yuri Alekseyevich Gagarin
Ю́рий Алексе́евич Гага́рин
Gagarin in Sweden.jpg
ยูริ กาการิน ขณะเยือนสวีเดน เมื่อปีพ.ศ. 2507
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2477
หมู่บ้านคลุชิโน (Klushino) เมืองกีซาตส์ก (Gzhatsk) เขตสโมเลนส์ก (Smolensk)สหภาพโซเวียต
เสียชีวิต27 มีนาคม พ.ศ. 2511 (34 ปี)
โนโวเซโลโว (Novoselovo) เขตวลาดิมีร์สหภาพโซเวียต
สัญชาติโซเวียต
อาชีพนักบินอวกาศ นักบิน
รู้จักในสถานะนักบินอวกาศคนแรกของโลก
คู่สมรสวาเลนตินา กอร์ยาเชว่า (Vaentina Ivanovna Goryacheva)
บุตรอีลิน่า กาการิน่า (Elena Gagarina)
กาลิน่า กาการิน่า (Gaina Gagarina)
ลายมือชื่อGagarin Signature.svg
ยูริ อะเลคเสเยวิช กาการิน (รัสเซียЮрий Алексеевич Гагаринอักษรโรมัน: Yuri Alekseyevich Gagarin) ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลก เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคมพ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก
กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500
ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 29 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย การบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ

เสียชีวิตอย่างปริศนา

หลังสร้างประวัติศาสตร์ให้วงการอวกาศได้เพียง 7 ปี กาการินก็จบชีวิตลง หลังประสบอุบัติเหตุจากซ้อมขับเครื่องบินรบเมื่อวันที่ 27 มี.ค.1968 โดยเครื่องเครื่องบินรบตระกูล “มิก” (Mig fighter) ที่เขาซ้อมรบร่วมกับครูฝึกคือ วลาดิมีร์ เซอร์ยอกิน (Vladimir Seryogin) ได้ตก ในแคว้นวลาดิมีร์ซึ่งอยู่นอกกรุงมอสโกว์
อุบัติเหตุครั้งนี้ ไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจน บ้างว่าอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนระดับเพดานบินอย่างรวดเร็วเพื่อ หลบหลีกสิ่งกีดขวาง บ้างว่าถูกโจมตีโดยอากาศยานอื่น บ้างก็ว่าขาดออกซิเจนในห้องโดยสาร
นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่า อุบัติเหตุดังกล่าวอาจเกิดมีสาเหตุจากนักบินร่วมของเขา หรืออาจเป็นคำสั่งของ เลโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) ผู้นำโซเวียตคนใหม่ ที่อิจฉาความโด่งดังของเขา
การเสียชีวิตของกาการิน ได้รับการบันทึกจากคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต และสภารัฐมนตรีในวันที่ 28 พ.ย.1968 ว่าเป็นเรื่อง “ลับเฉพาะ” ซึ่งเอกสารของคณะกรรมการระบุว่า การซ้อมรบของกาการินและนักบินร่วมนั้น ได้นำเครื่องบินไปเผชิญกับภาวะวิกฤต และการหยุดทำงานกลางคันของเครื่องยนต์ ท่ามกลางสภาพอากาศอันย่ำแย่
มีข้อสันนิษฐานมากมายเกี่ยวกับสาเหตุการตายของกาการิน แต่ทั้งหมดล้วนไม่มีหลักฐานรองรับ แต่ล่าสุดสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ทางการของรัสเซียได้เปิดเผยเอกสารที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป ซึ่งระบุว่า ความตายอันเป็นปริศนาของเขานั้นเกิดการซ้อมรบเพื่อหลบบอลลูนตรวจสภาพอากาศ อย่างฉับพลัน
แม้สหภาพโซเวียตจะล้มสลายไปแล้ว แต่กาการินก็ยังกลายเป็นวีรบุรุษในยุคคอมมิวนิสต์ไม่กี่คน ที่ยังได้รับศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลาย สเปซเดลีรายงานว่า เมื่อปี 2010 ที่ผ่านมากาการินติดอันดับสูงของในการสำรวจบุคคลสำคัญ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติแห่งศตวรรษที่ 20 โดยได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 18-24

Space station

สถานีอวกาศ  Space station

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจำลองของสถานีอวกาศนานาชาติสมบูรณ์แบบ ในปี พ.ศ. 2549
สถานีอวกาศ (อังกฤษSpace station) คือสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยมนุษย์ เพื่อใช้เป็นที่อยู่การดำรงชีพในอวกาศ โดยอยู่ในวงโคจรต่ำ (LEO)

ประเภทของสถานีอวกาศ[แก้]

Monolithic[แก้]

ไม่ต้องประกอบ

แบบโมดูล[แก้]

ลำเลียงชิ้นส่วนขึ้นไปประกอบในอวกาศ ตัวอย่างเช่น สถานีอวกาศมีร์ สถานีอวกาศนานาชาติ

รายชื่อสถานีอวกาศ[แก้]

สถานีอวกาศรูปภาพปล่อยออกสู่วงโคจรกลับสู่บรรยากาศจำนวนวันที่ใช้งานลูกเรือ
และผู้ใช้งาน
การมาเยือนน้ำหนัก
(กิโลกรัม)
จำนวนวันที่โคจรจำนวนวันที่มนุษย์อยู่มีมนุษย์ไม่มีมนุษย์
ซัลยุท 1สถานีอวกาศซัลยุท 119 เมษายน 2514
01:40:00 UTC
11 ตุลาคม 25141752432018,425
สกายแล็บสถานีอวกาศสกายแล็บ14 พฤษภาคม 2516
17:30:00 UTC
11 กรกฎาคม 2522
16:37:00 UTC
2,24917193077,088
ซัลยุท 3สถานีอวกาศซัลยุท 325 มิถุนายน 2517
22:38:00 UTC
24 มกราคม 25182131521018,500
ซัลยุท 4สถานีอวกาศซัลยุท 426 ธันวาคม 2517
04:15:00 UTC
3 กุมภาพันธ์ 25207709242118,500
ซัลยุท 5สถานีอวกาศซัลยุท 522 มิถุนายน 2519
18:04:00 UTC
8 สิงหาคม 25204126742019,000
ซัลยุท 629 กันยายน 2520
06:50:00 UTC
29 กรกฎาคม 25251,76468333161419,000
ซัลยุท 719 เมษายน 2525
19:45:00 UTC
7 กุมภาพันธ์ 25343,21681626121519,000
มีร์สถานีอวกาศมีร์19 กุมภาพันธ์ 2529
21:28:23 UTC
23 มีนาคม 2544
05:50:00 UTC
5,5114,5941373968124,340
ISSสถานีอวกาศนานาชาติ20 พฤศจิกายน 2541กำลังอยู่ในวงโคจร
คาดการณ์ (2554)
3,4292,7531584132286,876
เทียนกง 1สถานีอวกาศนานาชาติ29 กันยายน 2554กำลังอยู่ในวงโคจร
คาดการณ์ (2554)
300008,506
หมายเหตุ: UTC คือ เวลาสากลเชิงพิกัด

สถานีอวกาศที่ยกเลิกโครงการ[แก้]

  • สถานีอวกาศสกายแล็บบี (Skylab B)
  • สถานีอวกาศมีร์ทู (Mir II)
  • สถานีอวกาศฟรีดอม (ปัจจุบันร่วมโครงการ ISS)

space

อวกาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อวกาศ (อังกฤษouter space, หรือ space) คือ ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง แต่ประกอบด้วยสุญญากาศแข็งที่ประกอบด้วยอนุภาคความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีพลาสมาของไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก เช่นเดียวกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและนิวตริโน ปัจจุบัน การสังเกตได้พิสูจน์แล้วว่าอวกาศยังมีสสารมืดและพลังงานมืดอยู่ด้วย อุณหภูมิเส้นฐานกำหนดโดยรังสีพื้นหลังที่หลงเหลือจากบิกแบงมีค่าเพียง 2.7 เคลวิน ในทางตรงข้าม อุณหภูมิในโคโรนาของดาวฤกษ์อาจสูงถึงหนึ่งล้านเคลวิน พลาสมาที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (น้อยกว่าหนึ่งอะตอมไฮโดรเจนต่อลูกบาศก์เมตร) และอุณหภูมิสูง (หลายล้านเคลวิน) ในอวกาศระหว่างดาราจักรเป็นที่มาของสสารแบริออน (baryonic matter) ในอวกาศ ความเข้มข้นเฉพาะถิ่นรวมกันเป็นดาวฤกษ์และดาราจักร อวกาศระหว่างดาราจักรกินปริมาตรส่วนใหญ่ของเอกภพ กระนั้น แม้แต่ดาราจักรและระบบดาวฤกษ์ก็แทบเป็นอวกาศที่ว่างเปล่าสิ้นเชิง

Theory of the origin of the solar system

Theory of the origin of the solar system

ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ (Theory of the origin of the solar system)



1. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของบูฟง (Georges Louis leclere Buffon)






2. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ ลาพลาส (Piere Simon Laplace)

       โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลาพลาส ได้ร่วมงานกับ คานท์ เมื่อ พ.ศ. 2349 เสนอว่า ระบบสุริยะเกิดมาจากมวลของกลุ่มก๊าซฝุ่นละออง หมอกควัน ซึ่งมีขนาดใหญ่และร้อนจัด รวมกลุ่มกันหมุนรอบตัวเองอย่างช้า ๆ ทำให้มีมวลขนาดใหญ่ขึ้น ยุบตัวลง อัดแน่นมากขึ้น หมุนเร็วมากขึ้น ทำให้มวลบางส่วนหลุดออกมาเป็นวงแหวน และวงแหวนมีการหมุนจนหดตัวเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ จึงเรียกทฤษฎีของคานท์และลาพลาสว่า “The Nebula Hypothesis”


3. ทฤษฎีจุดกำเนิดระบบสุริยะของเจมส์ ยีนส์ (Sir James Jeans       

                นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2444 เสนอทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน (Tidal Theory หรือ Two-star) ก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ.2443 มีนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน คน คือ โทมัน แซมเบอร์ลิน (Thomas Chamberlin) และ เอฟ. อาร์. โมลตัน (F. R. Moulton) โดยใช้หลักการของ บูฟง และเชื่อว่าเนื้อสารของดวงอาทิตย์ในตอนแรกนั้นน่าจะกระจายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนแล้ว มารวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นและหลอมรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ
4. ทฤษฎีจุดกำเนินระบบสุริยะของ เฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) และ ฮานส์ อัลเฟน (Hans Alphen)

                นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2493 เสนอทฤษฎีว่าด้วยกลุ่มเมฆหมอก (Interstellar Cloud Theory) โดยกล่าวสนับสนุน คานท์ และลาพลาส แต่เชื่อว่ามีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน แล้วมีแสงสว่างภายหลัง ส่วนกลุ่มเมฆหมอกที่อยู่รอบดวงอาทิตย์ ก็จะหมุนและถูกดูดจนอัดแน่นรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ

5. ทฤษฏีการเปล่งแสง (Supernova Theory) หรือดาวแฝด (Binary Star)

                กล่าวว่ามีดวงอาทิตย์ ดวง ดึงดูดกันจนทำให้อาทิตย์อีกดวงเปล่งแสงมากขึ้นจนแตกเป็นชิ้นส่วนมากมาย และถูกแรงดึงดูดของอาทิตย์ให้หมุนรอบจนรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะ